กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กำหนดจัดงานรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรีและความรุนแรงในครอบครัว ประจำปี 2556 ในวันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน เวลา 08.00-14.00น. ณ สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดี-รังสิต เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม คือ ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันครอบครัว และสถาบันการศึกษามากกว่า 600 คน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานเปิดงาน

มูลนิธิบราห์มา กุมารี ราชาโยคะ ได้รับเชิญให้เข้าร่วมจัดบูธกิจกรรมพัฒนาคุณธรรม ผู้จัดกิจกรรมของมูลนิธิฯ ในวันนั้นจึงแบ่งปันความคิดเห็นไว้ในโอกาสนี้

"ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้น เนื่องจากเราเข้าใจผิดว่า การใช้ความรุนแรงเป็นอำนาจที่สามารถควบคุมหรือบังคับผู้อื่นให้ทำตามความอยากปรารถนาของเราได้ ซึ่งมีการแสดงออกมาหลายรูปแบบ ทั้งความรุนแรงต่อจิตใจ ต่อร่างกาย หรือพฤติกรรมอื่นๆ เช่น การบังคับ ข่มขู่ กักขัง หน่วงเหนี่ยวอิสรภาพ

ในสังคมส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า สาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความรุนแรงเกิดจากสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ทั้งการเลี้ยงดูจากครอบครัวในวัยเด็ก การเงิน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และอื่นๆ ทำให้คนเหล่านี้ขาดความรัก ขาดความอบอุ่น และความเข้าใจ จำเป็นต้องแสวงหาสิ่งพึ่งพิงต่างๆ และเมื่อไม่ได้มาในสิ่งนั้น ความรุนแรงจึงถือเป็นตัวบังคับ ควบคุม คุกคาม บุคคลอื่นในทันที

จากเหตุผลข้างต้นจะเห็นได้ชัดว่า สาเหตุหลักของความรุนแรงนั้น เกิดจากการขาดคุณสมบัติพื้นฐานของมนุษย์ นั่นคือ ความรัก และความปรารถนาดี เมื่อมนุษย์คิดว่าตนเองกำลังจะสูญเสียความรักย่อมเกิด ความกลัว จึงแสวงหาเพื่อให้ได้มาในสิ่งนั้นโดยไม่คำนึงถึงคุณค่า ความดี จากคุณสมบัติพื้นฐานของตนเอง เมื่อมนุษย์ไม่สามารถจดจำและรู้จักตนเองได้อย่างแท้จริง มนุษย์ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาความรุนแรงด้วยคุณธรรมความดีของตนเอง

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อกล่าวถึงความรักที่ขาดหายไป ต้องกลับมาเริ่มจากภายใน เมื่อเราเกิดความรักต่อตนเอง จึงมีความเข้าใจในพฤติกรรมที่ทำให้เข้าใจผู้อื่นอย่างที่เขาเป็น มีการยอมรับด้วยความเข้าใจและไว้วางใจทั้งในตัวเราเองและบุคคลอื่น โดยไม่ต้องบังคับ ควบคุม และคุกคามผู้ใดในที่สุด
ผู้นั้นย่อมสามารถดึงคุณสมบัติภายในที่ดีงามออกมาใช้ในชีวิตประจำวันได้เพื่อยุติความรุนแรงทุกรูปแบบด้วยความเข้าใจว่ามนุษย์ทุกคนล้วนมีธรรมชาติภายในที่ต้องการเห็นความดีของตนเองและของผู้อื่นด้วยเช่นกัน" (หนูหนึ่ง)

“เมื่อพิธีเปิดงานลดความรุนแรงก้าวร้าวต่อเด็กและสตรีเริ่มขึ้น ทุกคนต่างฝ่ายต่างใช้เสียงกันอย่างเต็มที่ทั้งพูดคุยและประชาสัมพันธ์ มีความวุ่นวายสับสน อึกทึกครึกโครมอยู่ตลอดเวลา

มาถึงบูธมูลนิธิบราห์มา กุมารี ราชาโยคะ พี่น้องทางจิต 7 ท่าน ต่างสร้างบรรยากาศจากกระแสของความสงบนิ่ง ด้วยใบหน้า แววตา ที่สดชื่นแจ่มใส เตรียมพร้อมให้ทานความรู้ของสัจจะที่จะนำไปสู่การใช้ชีวิตที่มีความสงบสุขทั้งกับตนเองและคนรอบข้างได้อย่างเป็นธรรมชาติและกลมกลืนในสังคม ในความสงบเงียบเท่านั้นที่สัจจะสามารถดึงพลังอำนาจจากการปกครองตนเองขึ้นมาหนุนนำคุณธรรม ความดีที่เป็น ธรรมชาติดั้งเดิมของทุกคน อันเป็นกระบวนการขจัดปีศาจร้ายที่อยู่คู่กับเรามานานออกไปให้คงอยู่เพียงเราคือดวงวิญญาณบุญเท่านั้น แล้วเราจะใช้ชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ได้อย่างสงบสุข เป็นอมตะนิรันดร ในงานวันนั้นที่บูธมีผู้สนใจรับความรู้และทำกิจกรรมคุณธรรมเป็นจำนวนมากในบรรยากาศที่มีความสุข” (พี่แหม่ม)

ขอส่งท้ายปีเก่า...ด้วยการรื้อฟื้นความจำที่มีค่า จากโครงการนานาชาติที่บราห์มา กุมารี มหาวิทยาลัยทางจิตของโลกได้รับการแต่งตั้งจากองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(UNESCO) ให้เป็น “ผู้นำสาสน์ สำหรับคำประกาศปี 2000” (Messenger for Manifesto 2000) เพื่อวัฒนธรรมสันติภาพและความไม่รุนแรง
คำประกาศทั้ง 6 ประการคือ
  1. การให้ความเคารพต่อชีวิตทั้งมวล
  2. การไม่ใช้ความรุนแรง
  3. การแบ่งปันกับผู้อื่น
  4. การรับฟังเพื่อเกิดความเข้าใจต่อกัน
  5. การสงวนรักษาผืนโลก
  6. การสร้างความสมานฉันท์
ประเด็นที่ 2 ‘การไม่ใช้ความรุนแรง' หมายถึง การฝึกปฏิบัติที่จะไม่ใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบ ทั้งทางร่างกาย ทางเพศ ทางจิตใจ ทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้ที่ขาดแคลนและยังช่วยเหลือตนเองไม่ได้ เช่นเด็กและเยาวชน... เป็นการปลุกเรียกผู้นำและประชากรโลกร่วมลงนามและร่วมปฏิบัติการอาทิเช่น
  • แทนการตอบโต้จงหยุดคิดแล้วจึงกระทำ
  • มองหาความพิเศษของผู้อื่นและรู้ค่า ในความพิเศษนั้น
บางประเทศได้รณรงค์ให้ประชากรงดการชมภาพยนตร์ที่มีความรุนแรง แต่ให้คิดในเชิงบวก หลีกเลี่ยงการคิด การพูด การทำในเชิงลบ และในประเทศไทย ขณะนี้ เราควรรณรงค์เพื่อยุติความรุนแรงอย่างไร?

ขอให้สัจจะชี้นำทาง...
ผู้รักสันติ มีสำนึกรู้ในการชี้นำชีวิตด้วย ‘ความจริงแท้’ ที่มาจากความสามารถในการแยกแยะว่าอะไรถูก-ผิด สัจจะคือ สิ่งที่ไม่มีวันแปรเปลี่ยน รวมถึง ตัวฉัน : ฉันคือใคร และทำไมฉันจึงอยู่ ณ ที่นี่ ...ฉันคือชีวิตทางจิต ที่คงอยู่นิจนิรันดร์ และเป็นอมตะ ...ฉันอยู่ ณ ที่นี่ เพื่อสร้างชีวิต และเรื่องราวที่พิเศษสุดของตนเองในช่วงเวลานี้

หากเราไม่มีความหลงทะนงและไม่พยายามจะเป็นใครบางคน เราจะสร้างชีวิตในความสงบและความรัก เราจะรู้สึกถึงความสุขสันต์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เวลาของการให้ของขวัญแห่งสัจจะ คือเวลาที่เราเป็นตัวของตัวเองที่จริงแท้ ไม่มีอะไรต้องซ่อนเร้น โปร่งใส เปิดใจตลอดเวลา ต่อทุกคน

ในสถานการณ์ปัจจุบันที่สังคมและโลกมีปัญหา ความก้าวร้าวรุนแรงเพิ่มขึ้น จิตวิญญาณของความรับผิดชอบต่อสภาพจิตของตนได้วนกลับมาถามทุกคนว่า

ท่านเคยโต้แย้งหรือไม่? การโต้แย้งแสดงถึงการมีความคิดเห็น ที่มีความเชื่อเป็นหัวใจ เหตุใดความเชื่อของผู้อื่นจึงคุกคามเรา? เพราะเรายึดมั่นในความเชื่อของตนเอง ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว จึงรู้สึกว่าความเชื่อของผู้อื่นคือการจู่โจม เราป้องกันตัวหรือตอบโต้ด้วยความกลัวและความก้าวร้าว จนเกิดความทุกข์ทางอารมณ์

หลายคนเข้ามาเจรจาแบบติดอาวุธครบครันด้วยเหตุผลต่างๆ เตรียมปกป้องความเชื่อของตน และพร้อมที่จะรบรา เราอาจปลดอาวุธของเขาได้เพียงพูดว่า “น่าสนใจในสิ่งที่คุณเห็น ไม่แน่ใจว่าจะเห็นด้วย แต่ก็สามารถเข้าใจว่าคุณเห็นอะไร?”

แต่ถ้าเราเห็นว่าเราสามารถที่จะทำเช่นนั้น เพราะเชื่อว่าเราถูกต้องและต้องการพิสูจน์ว่า ‘เธอผิด’ เพราะเมื่อเราเป็นผ่ายถูกเรารู้สึกเป็นสุข ...รู้สึกเหนือกว่า ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะหลีกเลี่ยงความรู้สึกด้อยกว่า ดังนั้นการเป็นฝ่ายถูก เป็นปมเด่น และเป็นสุขจึงเป็นเรื่องเดียวกัน ทั้งๆ ที่ ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง เพราะในหนทางของการพยายามพิสูจน์ความถูกต้อง เราตึงเครียดและโกรธเคืองที่ผู้อื่นไม่เข้าใจ ไม่รับรู้ว่าเราถูก เราไม่ยอมแพ้ในการโต้แย้งเพราะกลัวเสียหน้า

และแล้วจึงมีผู้ที่ตั้งหน้าตั้งตาโต้แย้งโดยไม่คำนึงถึงว่าใครถูกหรือผิด ผูกเรื่องใหม่ให้เสียหายเพื่อต่อสู้และสามารถพิสูจน์ว่าผู้อื่นผิดจนสาสมใจกลายเป็นการเสพติดทางอารมณ์ (วิตกกังวล,โกรธและเกลียดชัง) และมีทัศนคติที่ขัดแย้งท้าทายทุกทางเพื่อยั่วอารมณ์ให้ผู้อื่นลุกขึ้นมาต่อสู้

การมีความคิดเห็น เป็นสิ่งที่ดี ไม่เช่นนั้นก็ดูเหมือนว่าเราอ่อนแอ ยอมจำนน ไม่กล้ายืนหยัดในหลักการ แต่แล้ว...ในขณะที่แสดงความคิดเห็น หากเป็นการต่อสู้เพื่อรักษาสถานภาพและผลประโยขชน์หรือไม่ยอมรับความคิดเห็นอื่น,...นี่คือจุดกำเนิดของความขัดแย้งและเป็นเมล็ดของสงคราม ทุกสงครามมีรากเหง้ามาจากความแตกต่างในความคิดเห็น การขัดแย้งในความเชื่อ ในผลประโยชน์ อารมณ์และการกระทำที่ตามมาจึงก้าวร้าวรุนแรงกับตนเองและรุกรานผู้อื่น

การประกาศว่า เราต้องเข้มแข็งในการตัดสินใจทำสงคราม จริงๆ แล้วคือการหลบเลี่ยง การพูดว่า “เราไม่เข้มแข็งพอที่จะปล่อยวางความต้องการเป็นฝ่ายถูก” “เราไม่กล้าหาญหรือไม่อดกลั้นที่เปลี่ยนการโต้แย้งให้เป็นการเจรจาเพื่อหาวิธีการเข้าใจอย่างแท้จริงในสภาวะของผู้อื่น” เป็นการยอมรับปรับเปลี่ยนมุมมอง เป็นการยืดหยุ่นด้วย ความถ่อมตนที่จะเรียนรู้ว่ายังมีอีกมากมายหลายมุมที่จะมองและพูดจากใจ...

“เราต้องการจะพบกันในจุดยืนที่พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยไม่มีการต่อต้านใดๆ!”

ความต่างระหว่าง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น(discussion) การสนทนา(dialogue)
และการโต้แย้ง(argument)
มีสูตรพิเศษ
  1. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น คือการปรึกษาหารืออย่างเปิดใจ [1 + 1 = 2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ฉันท์มิตร]
  2. การสนทนา คือ การค้นหาความหมาย มีจุดยืนร่วมกัน นำไปสู่ปัญญาที่ลุ่มลึกขึ้นและการร่วมกันสร้างความเข้าใจ
    [1 + 1 = 3 ฟังมากกว่าพูด]
  3. การโต้แย้ง คือการรบราในความคิดเห็น เป็นการพบปะของใจที่ปิดกั้น [1 + 1 = 0 สงคราม]
ผู้รู้แจ้งจะเปลี่ยนการโต้แย้งมาเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เป็นการสนทนา...โดยไม่ต้องการเป็นฝ่ายถูก แต่มีเจตนาที่จะเข้าใจผู้อื่นอย่างจริงใจ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่ดีว่า ไม่มีความหลงทะนง

การทำร้ายตนเอง (Violating One Self)
น้อยคนจะตระหนักรู้ว่า ความผูกพันยึดมั่นนั่นเองคือรูปแบบของความรุนแรงก้าวร้าวต่อตนเอง การทำร้ายตนเอง เนื่องจากภายในจิตสำนึก มีการติดยึดอยู่กับภาพลักษณ์และพยายามใช้ชีวิตกับภาพลักษณ์นั้น เป็นการติดกับตนเองอยู่ในหลากหลายรูปแบบ(สิ่งของ,คน,สถานที่,ตำแหน่งหน้าที่) ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และระยะเวลายาวนานมากเท่าใด (นาที/ชม./วัน/ปี) ความผูกพันยึดมั่นก็ฝังลึกมากเท่านั้น สิ่งชี้วัดความเสียหายระดับร่างกาย คือความเจ็บปวด (pain) ส่วนระดับจิตวิญญาณ คือ ความทุกข์ทรมาน (suffering) เนื่องจากภาพลักษณ์หรือตัวตนที่จอมปลอมนั้นสร้างความทุกข์ทรมานทางอารมณ์

ที่ใดมีความผูกพันยึดมั่น ที่นั่นมีอารมณ์ที่ทุกข์ทรมานคือความเศร้าโศก ความโกรธ และความกลัว หากเข้าใจผิดว่านี่คือธรรมชาติของมนุษย์ ก็เท่ากับว่าเราไม่สามารถมองหาเหตุที่แท้จริงของความทุกข์ทรมานหรือเราคิดว่าผู้อื่นเป็นเหตุ เราไม่มีการตระหนักรู้ถึงสาเหตุที่แท้จริงของอารมณ์ตนเอง เช่น ความรักไม่ใช่อารมณ์ แต่เป็นความผูกพันยึดมั่นต่อบางสิ่งหรือบางคนเสมอ ดังนั้นเราย่อมสามารถทำให้ตนเองเป็นอิสระจากการตกเป็นเหยื่ออารมณ์ได้โดย ไม่มีการบีบบังคับ แม้ว่ามันอาจจะดูเหมือนว่า.......ถูกบีบในบางครั้ง

เพียงแต่เมื่อเราเป็นอิสระภายในจากความผูกพันยึดมั่น(attachment) ความขาด(neediness) การพึ่งพิง (dependency) เราจึงพบกับการละวาง(detachment) มีอิสระจากความต้องการและการตักตวง(wanting-taking) จนกระทั่งเราสามารถให้ และแบ่งปันความรักโดยไม่มีการคาดหวัง

นี่คืออิสรภาพ จากการถูกจองจำภายในและการข้องแวะกับผู้คนและโลกภายนอก ด้วยทัศนคติของการให้คุณประโยชน์จากหัวใจ

โอมชานติ... ฉันคือดวงวิญญาณที่สงบ



© 2024 Brahma Kumaris Thailand. All rights reserved.